‘โรคอัลไซเมอร์’ คือ ‘โรคครอบครัว’
ไม่ได้มีผลกระทบแค่ต่อผู้ป่วยเท่านั้น
แต่ยังมีผลกระทบต่อผู้ดูแลและคนรอบข้างด้วย
ผลกระทบจากโรคอัลไซเมอร์มากกว่าแค่หลงลืม
● สูญเสียความจำ ทำให้ผู้ป่วยถามเรื่องเดิมซ้ำๆ
● สูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแลและครอบครัว
● มีอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติที่พบได้บ่อย เช่น
● เฉยเมยไม่สนใจต่อสิ่งรอบตัว (พบร้อยละ 70),
● ภาวะซึมเศร้า (พบร้อยละ 50)
● ปัญหาด้านการรับประทานอาหารและการนอนหลับ (พบร้อยละ 50)
● อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย (พบร้อยละ 40)
ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์…คือผู้ป่วยที่ถูกมองข้าม
● พบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยมักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว โดยร้อยละ 50 เป็นบุตร
● และร้อยละ 5-11 เป็นคู่สมรส
● การไม่เข้าใจในโรคอัลไซเมอร์และเทคนิคการดูแลที่ถูกต้อง ย่อมจะส่งผล
● กระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ดูแล หากไม่สามารถปรับตัวในการ
● ให้การดูแล โดยเฉพาะปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะ
● ทำให้ผู้ดูแลเกิดความทุกข์ทรมานใจ และกลายเป็นผู้ป่วยที่ถูกมองข้ามไปได้
● ผู้ดูแลกว่า 1 ใน 3 มีปัญหาซึมเศร้า และ 1 ใน 10 พบการป่วยเป็นโรควิตกกังวล
ดังนั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์
ทั้งมีความเข้าใจในการดูแลอาการแสดงต่างๆ และพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม
“ อยู่กับอัลไซเมอร์ แบบมีความสุขก็ทำได้ “
เทคนิคการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่บ้านอย่างมีความสุข
เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ
ชะลอการเสื่อมถอยของความสามารถสมอง และอาการแสดงให้ช้าลง
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถคงความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และคงความสามารถในการดูแลตัวเองให้เหมาะสมในแต่ละระยะของโรค
ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัวให้อยู่ได้อย่างมีความสุข
เทคนิคการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เบื้องต้นที่บ้าน
1. ส่งเสริมการทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยคงความสามารถในการ
● ดูแลตนเองให้ได้นานมากขึ้น
● กิจกรรมการอาบน้ำ การทำความสะอาดร่างกาย จัดเตรียมอุปกรณ์ที่คุ้นเคย
● ไม่ซับซ้อน บอกขั้นตอนช้าๆ มีการบอกก่อนทำกิจกรรม เตรียมสถานที่ให้เหมาะสม
● ปลอดภัย ไม่ลื่น มีเก้าอี้นั่ง เตรียมน้ำที่อุณหภูมิที่เหมาะสม ระวังเรื่องความรู้สึก
● เขินอายเวลาต้องถอดชุด
● กิจกรรมการรับประทานอาหาร จัดเตรียมปริมาณอาหารให้พอดีในแต่ละมื้อ
● ระวังไม่ให้อาหารร้อนจัดเกินไป อาหารสุกสะอาด เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย ได้รับ
● สารอาหารครบถ้วน บางครั้งอาจรับประทานมื้อละน้อยๆแต่ถี่มากขึ้นได้ ไม่ตำหนิ
● หากทานเลอะเทอะ จัดเตรียมบรรยากาศในการรับประทานอาหารให้ดีตามที่ผู้ป่วย
● เคยชอบ อาจใช้เครื่องตกแต่งที่มีสีสัน มีการเปิดเพลง หรือทำให้สนุกสนาน
● หากเป็นไปได้ควรจัดเวลาของครอบครัวให้ได้มีโอกาสรับประทานอาหารร่วมกันบ้าง
● พยายามจัดตารางทำกิจวัตรประจำวัน อาบน้ำ ขับถ่าย ทานอาหาร เข้านอน
● ที่สม่ำเสมอ และเหมาะกับวิถีชีวิตของผู้ป่วย จะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้สิ่งที่ต้องทำ
● ทีละนิด ลดการสับสน ให้รู้สึกเป็นเรื่องสบายๆ ปรับเปลี่ยนได้ในบางครั้งตาม
● ความเหมาะสมของสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น
2. ช่วยเหลือด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา
● เมื่อจะเริ่มพูดคุย ใช้เสียงที่ดังเพียงพอและนุ่มนวล ควรลดเสียงรบกวน
● อื่นๆ เช่น ปิดโทรทัศน์ (ขออนุญาตผู้ป่วยก่อน) เรียกความสนใจผู้ป่วยโดย
● สัมผัสมือหรือต้นแขน อยู่ด้านหน้าผู้ป่วยหรือบริเวณที่เห็นได้ง่าย รักษา
● ระดับใบหน้าให้เท่าๆกันเพื่อให้ผู้ป่วยกำหนดตำแหน่งเจ้าของเสียงได้ง่าย
● ระหว่างการสนทนา อาศัยการสบตา หรือใช้การสัมผัสโดยอาจกุมมือผู้ป่วย
● ไว้เพื่อให้ผู้ป่วยมีสมาธิ บางครั้งอาจต้องพูดอธิบายซ้ำ ให้รู้สึกเป็นเรื่องปกติ
● เลือกใช้ข้อความสั้นๆ เข้าใจง่าย พูดคุยทีละหัวข้อ อธิบายทีละขั้นตอน
● ไม่ปนหลายเรื่อง ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล และสังเกตท่าทางของผู้ป่วยไปด้วยว่า
● รับรู้เข้าใจหรือไม่ไปด้วย
3. ลดความกังวลและความเครียดของผู้ป่วย
● ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และฝึกการรับรู้สิ่งรอบตัว เช่น กำลังอยู่ที่ไหน
● เป็นวัน เวลาอะไร ได้รับประทานอาหารหรือยัง เพื่อลดการสับสนที่อาจจะ
● เกิดขึ้นในบางครั้ง
● จัดวางสิ่งของที่ผู้ป่วยใช้ประจำไว้ที่เดิมที่คุ้นเคย สามารถหยิบใช้งานได้สะดวก
● ทำกิจกรรม ชวนดูรูปสมาชิกในครอบครัว หรือการท่องเที่ยวในอดีต ที่ทำให้มี
● ความสุข พร้อมกับกระตุ้นให้นึกชื่อหรือสถานที่ ผู้ดูแลควรทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
● อาจใช้เวลานึกคำตอบซึ่งเป็นการฝึกสมองให้ไปหาข้อมูล แต่หากดูยุ่งยากมากเกินไป
● ควรให้คำใบ้ หรือเปลี่ยนเรื่องไปเลยก็ได้
● เล่นดนตรี ร้องเพลง การสวดมนต์ และการทำกิจกรรมใหม่ๆ ก็เป็นอีกวิธีในการ
● ช่วยฝึกกระตุ้นความจำได้
● ชักชวนในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ พยายามพิจารณาจากวิถีชีวิต อาชีพ
● และสิ่งที่ชอบมาทำ เช่น การเตรียมอาหาร ทำความสะอาดง่ายๆ เดินเล่นนอกบ้าน
● ชมสวนเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ เพื่อให้ผู้ป่วยสดชื่น และยังส่งเสริมการมีกิจกรรม
● ในครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าและอบอุ่น
4. จัดการกับพฤติกรรมอารมณ์ต่าง ๆ ที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ไม่ยอมอาบน้ำ
● ปัญหาการกิน การนอนเปลี่ยนแปลง อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เกรี้ยวกราด
● โดยใช้หลักการ 4 บ ได้แก่
● บอกเล่า เช่น ผู้ป่วยก้าวร้าว ให้บอกหรืออธิบายผู้ป่วยโดยใช้น้ำเสียง
● นุ่มนวล สบายๆ
● บอกซ้ำ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พูดช้า ๆ ที่ละขั้นตอน ด้วยความเข้าใจ
● เบี่ยงเบน ไปในเรื่องอื่น หรือกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ โดยไม่ต้องโต้เถียง
● แม้ว่าผู้ป่วยจะเข้าใจผิด เช่น พาออกไปนั่งรถเล่นจะทำให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีขึ้น
● หรืออาจใช้วิธีการตามน้ำในระยะแรก แล้วค่อยเบี่ยงเบนให้ผู้ป่วยทำเรื่องอื่น
● ต่อไป
● แบ่งเบา/บำบัด เช่น ใช้วิธีนวดเพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ให้ผู้ป่วยทำ
● กิจกรรมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เปลี่ยนสิ่งกระตุ้น
● และบรรยากาศให้ดี
5. การดูแลเมื่อมีอาการแทรกซ้อนทางจิตเวช
● อาการหวาดระแวง เช่น ระแวงว่ามีคนในบ้านขโมยของ หรือปองร้าย ผู้ดูแลต้อง
● เข้าใจว่าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมเหล่านี้ได้ และเป็นจากโรค จึงไม่ควร
● โต้เถียง แต่ช่วยผู้ป่วยหาของที่คิดว่าถูกขโมยไป หรือเปลี่ยนแปลงความสนใจไปเรื่อง
● ที่น่าสนใจเรื่องอื่น
● อาการประสาทหลอน เช่น เห็นคนที่เสียชีวิตแล้วมาเยี่ยม หรือได้ยินเวียงแว่ว
● ควรลองหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ไม่ชัดเจน ที่จะทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย เช่น
● กระจก รูปปั้น รูปคน ลองวิเคราะห์หาสาเหตุ เช่น การนอนผิดปกติ ผลข้างเคียง
● จากยา และการขาดน้ำ เป็นต้น หากยังคงผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ที่ดูแล
6. การดูแลโรคประจำตัวอื่น ๆ
(ถ้าผู้ป่วยมีโรคร่วมด้วย) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
ให้พยายามควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดี ดูเรื่องการทานยาและการติดตามอาการอย่าง
สม่ำเสมอ เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง
กว่าเดิม
7. อาหาร ผู้ดูแลมีบทบาทสำคัญในการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะ
● สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
● สารอาหารที่มีการศึกษาว่ามีประโยชน์ต่อการสร้างเสริมการเชื่อมต่อเซลล์ประสาท
● และการทำงานของสมอง เช่น
● กลุ่มไขมันโอเมก้า3 ที่เป็นโครงสร้างหลักของสมอง
● โคลีน มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างเซลล์สมองและการทำงานของสารสื่อประสาท
● วิตามินบี และ กรดโฟลิก ช่วยในการทำงานของระบบประสาท
● สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันสมองจากอนุมูลอิสระ
8. การออกกำลังกาย และการฝึกเคลื่อนไหวร่างกาย
ผู้ป่วยควรทำการฝึกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้คงความแข็งแรงของร่างกาย
และจะทำให้สามารถใช้ส่วนต่างๆของร่างกายได้นานมากขึ้น ผู้ดูแลสามารถช่วย
ให้ผู้ป่วยฝึกเคลื่อนไหวทั่วไป และอาจติดตั้งราวสำหรับยึดเกาะ เพื่อช่วยในการเดิน
การลุกยืน และการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง
9. ป้องกันก่อนเกิดปัญหา
● จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย วางของให้เป็นระเบียบ
● วางในที่เดิมที่ผู้ป่วยคุ้นชิน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
● จัดเก็บของมีคม ไม่ขีด ไฟแช็ค ไว้ในที่มิดชิด
● จัดเตรียมรูปของผู้ป่วยที่ถ่ายไว้ล่าสุดเพื่อใช้ติดตามกรณีผู้ป่วย
● สูญหายควรให้ผู้ป่วยพกกระดาษ หรือสร้อยคอ/ข้อมือ ที่ช่วยบอก
● ว่าผู้สูงวัยมีปัญหา ด้านความจำ ระบุหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อ
● กลับและข้อมูลตามความเหมาะสม
ตรวจทานโดย นายแพทย์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม สาขาประสาทวิทยา
‘โรคอัลไซเมอร์’ คือ ‘โรคครอบครัว’
ไม่ได้มีผลกระทบแค่ต่อผู้ป่วยเท่านั้น
แต่ยังมีผลกระทบต่อผู้ดูแลและคนรอบข้างด้วย
ผลกระทบจากโรคอัลไซเมอร์มากกว่าแค่หลงลืม
● สูญเสียความจำ ทำให้ผู้ป่วยถามเรื่องเดิมซ้ำๆ
● สูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแลและครอบครัว
● มีอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติที่พบได้บ่อย เช่น เฉยเมยไม่สนใจต่อสิ่งรอบตัว (พบร้อยละ 70), ภาวะซึมเศร้า (พบร้อยละ 50) ปัญหาด้านการรับประทานอาหารและการนอนหลับ (พบร้อยละ 50) อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย (พบร้อยละ 40)
ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์…คือผู้ป่วยที่ถูกมองข้าม
● พบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยมักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว โดยร้อยละ 50 เป็นบุตรและร้อยละ 5-11 เป็นคู่สมรส
● การไม่เข้าใจในโรคอัลไซเมอร์และเทคนิคการดูแลที่ถูกต้อง ย่อมจะส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ดูแล หากไม่สามารถปรับตัวในการให้การดูแล โดยเฉพาะปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะทำให้ผู้ดูแลเกิดความทุกข์ทรมานใจ และกลายเป็นผู้ป่วยที่ถูกมองข้ามไปได้
● ผู้ดูแลกว่า 1 ใน 3 มีปัญหาซึมเศร้า และ 1 ใน 10 พบการป่วยเป็นโรควิตกกังวล
ดังนั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ทั้งมีความเข้าใจในการดูแลอาการแสดงต่างๆและพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม
“อยู่กับอัลไซเมอร์ แบบมีความสุขก็ทำได้“
เทคนิคการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่บ้านอย่างมีความสุข
เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ
ชะลอการเสื่อมถอยของความสามารถสมอง และอาการแสดงให้ช้าลง
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถคงความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และคงความสามารถในการดูแลตัวเองให้เหมาะสมในแต่ละระยะของโรค
ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัวให้อยู่ได้อย่างมีความสุข
เทคนิคการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เบื้องต้นที่บ้าน
1. ส่งเสริมการทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยคงความสามารถในการดูแลตนเองให้ได้นานมากขึ้น
● กิจกรรมการอาบน้ำ การทำความสะอาดร่างกาย จัดเตรียมอุปกรณ์ที่คุ้นเคย ไม่ซับซ้อน บอกขั้นตอนช้าๆ มีการบอกก่อนทำกิจกรรม เตรียมสถานที่ให้เหมาะสม ปลอดภัย ไม่ลื่น มีเก้าอี้นั่ง เตรียมน้ำที่อุณหภูมิที่เหมาะสม ระวังเรื่องความรู้สึกเขินอายเวลาต้องถอดชุด
● กิจกรรมการรับประทานอาหาร จัดเตรียมปริมาณอาหารให้พอดีในแต่ละมื้อ ระวังไม่ให้อาหารร้อนจัดเกินไป อาหารสุกสะอาด เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย ได้รับสารอาหารครบถ้วน บางครั้งอาจรับประทานมื้อละน้อยๆแต่ถี่มากขึ้นได้ ไม่ตำหนิ หากทานเลอะเทอะ จัดเตรียมบรรยากาศในการรับประทานอาหารให้ดีตามที่ผู้ป่วยเคยชอบ อาจใช้เครื่องตกแต่งที่มีสีสัน มีการเปิดเพลง หรือทำให้สนุกสนาน หากเป็นไปได้ควรจัดเวลาของครอบครัวให้ได้มีโอกาสรับประทานอาหารร่วมกันบ้าง
● พยายามจัดตารางทำกิจวัตรประจำวัน อาบน้ำ ขับถ่าย ทานอาหาร เข้านอน ที่สม่ำเสมอ และเหมาะกับวิถีชีวิตของผู้ป่วย จะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้สิ่งที่ต้องทำทีละนิด ลดการสับสน ให้รู้สึกเป็นเรื่องสบายๆ ปรับเปลี่ยนได้ในบางครั้งตามความเหมาะสมของสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น
2. ช่วยเหลือด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา
● เมื่อจะเริ่มพูดคุย ใช้เสียงที่ดังเพียงพอและนุ่มนวล ควรลดเสียงรบกวนอื่นๆ เช่น ปิดโทรทัศน์ (ขออนุญาตผู้ป่วยก่อน) เรียกความสนใจผู้ป่วยโดยสัมผัสมือหรือต้นแขน อยู่ด้านหน้าผู้ป่วยหรือบริเวณที่เห็นได้ง่าย รักษาระดับใบหน้าให้เท่าๆกันเพื่อให้ผู้ป่วยกำหนดตำแหน่งเจ้าของเสียงได้ง่าย
● ระหว่างการสนทนา อาศัยการสบตา หรือใช้การสัมผัสโดยอาจกุมมือผู้ป่วยไว้เพื่อให้ผู้ป่วยมีสมาธิ บางครั้งอาจต้องพูดอธิบายซ้ำ ให้รู้สึกเป็นเรื่องปกติ เลือกใช้ข้อความสั้นๆ เข้าใจง่าย พูดคุยทีละหัวข้อ อธิบายทีละขั้นตอน ไม่ปนหลายเรื่อง ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล และสังเกตท่าทางของผู้ป่วยไปด้วยว่ารับรู้เข้าใจหรือไม่ไปด้วย
3. ลดความกังวลและความเครียดของผู้ป่วย
● ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และฝึกการรับรู้สิ่งรอบตัว เช่น กำลังอยู่ที่ไหน เป็นวัน เวลาอะไร ได้รับประทานอาหารหรือยัง เพื่อลดการสับสนที่อาจจะเกิดขึ้นในบางครั้ง
● จัดวางสิ่งของที่ผู้ป่วยใช้ประจำไว้ที่เดิมที่คุ้นเคย สามารถหยิบใช้งานได้สะดวก
● ทำกิจกรรม ชวนดูรูปสมาชิกในครอบครัว หรือการท่องเที่ยวในอดีต ที่ทำให้มีความสุข พร้อมกับกระตุ้นให้นึกชื่อหรือสถานที่ ผู้ดูแลควรทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน อาจใช้เวลานึกคำตอบซึ่งเป็นการฝึกสมองให้ไปหาข้อมูล แต่หากดูยุ่งยากมากเกินไป ควรให้คำใบ้ หรือเปลี่ยนเรื่องไปเลยก็ได้
● เล่นดนตรี ร้องเพลง การสวดมนต์ และการทำกิจกรรมใหม่ๆ ก็เป็นอีกวิธีในการช่วยฝึกกระตุ้นความจำได้
● ชักชวนในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ พยายามพิจารณาจากวิถีชีวิต อาชีพ และสิ่งที่ชอบมาทำ เช่น การเตรียมอาหาร ทำความสะอาดง่ายๆ เดินเล่นนอกบ้าน ชมสวนเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ เพื่อให้ผู้ป่วยสดชื่น และยังส่งเสริมการมีกิจกรรมในครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าและอบอุ่น
4. จัดการกับพฤติกรรมอารมณ์ต่าง ๆ ที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ไม่ยอมอาบน้ำ ปัญหาการกิน การนอนเปลี่ยนแปลง อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เกรี้ยวกราด
โดยใช้หลักการ 4 บ ได้แก่
● บอกเล่า เช่น ผู้ป่วยก้าวร้าว ให้บอกหรืออธิบายผู้ป่วยโดยใช้น้ำเสียงนุ่มนวล สบายๆ
● บอกซ้ำ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พูดช้า ๆ ที่ละขั้นตอน ด้วยความเข้าใจ
● เบี่ยงเบน ไปในเรื่องอื่น หรือกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ โดยไม่ต้องโต้เถียง แม้ว่าผู้ป่วยจะเข้าใจผิด เช่น พาออกไปนั่งรถเล่น จะทำให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีขึ้น หรืออาจใช้วิธีการตามน้ำในระยะแรก แล้วค่อยเบี่ยงเบนให้ผู้ป่วยทำเรื่องอื่นต่อไป
● แบ่งเบา/บำบัด เช่น ใช้วิธีนวดเพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เปลี่ยนสิ่งกระตุ้นและบรรยากาศให้ดี
5. การดูแลเมื่อมีอาการแทรกซ้อนทางจิตเวช
● อาการหวาดระแวง เช่น ระแวงว่ามีคนในบ้านขโมยของ หรือปองร้าย ผู้ดูแลต้องเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมเหล่านี้ได้ และเป็นจากโรค จึงไม่ควรโต้เถียง แต่ช่วยผู้ป่วยหาของที่คิดว่าถูกขโมยไป หรือเปลี่ยนแปลงความสนใจไปเรื่องที่น่าสนใจเรื่องอื่น
● อาการประสาทหลอน เช่น เห็นคนที่เสียชีวิตแล้วมาเยี่ยม หรือได้ยินเวียงแว่ว ควรลองหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ไม่ชัดเจน ที่จะทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย เช่น กระจก รูปปั้น รูปคน ลองวิเคราะห์หาสาเหตุ เช่น การนอนผิดปกติ ผลข้างเคียงจากยา และการขาดน้ำ เป็นต้น หากยังคงผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ที่ดูแล
6. การดูแลโรคประจำตัวอื่น ๆ
(ถ้าผู้ป่วยมีโรคร่วมด้วย) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงให้พยายามควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดี ดูเรื่องการทานยาและการติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงกว่าเดิม
7. อาหาร ผู้ดูแลมีบทบาทสำคัญในการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ สารอาหารที่มีการศึกษาว่ามีประโยชน์ต่อการสร้างเสริมการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทและการทำงานของสมอง เช่น
● กลุ่มไขมันโอเมก้า3 ที่เป็นโครงสร้างหลักของสมอง
● โคลีน มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างเซลล์สมองและการทำงานของสารสื่อประสาท
● วิตามินบี และ กรดโฟลิก ช่วยในการทำงานของระบบประสาท
● สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันสมองจากอนุมูลอิสระ
8. การออกกำลังกาย และการฝึกเคลื่อนไหวร่างกาย
ผู้ป่วยควรทำการฝึกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้คงความแข็งแรงของร่างกายและจะทำให้สามารถใช้ส่วนต่างๆของร่างกายได้นานมากขึ้น ผู้ดูแลสามารถช่วยให้ผู้ป่วยฝึกเคลื่อนไหวทั่วไป และอาจติดตั้งราวสำหรับยึดเกาะ เพื่อช่วยในการเดิน
การลุกยืน และการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง
9. ป้องกันก่อนเกิดปัญหา
● จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย วางของให้เป็นระเบียบ วางในที่เดิมที่ผู้ป่วยคุ้นชิน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
● จัดเก็บของมีคม ไม่ขีด ไฟแช็ค ไว้ในที่มิดชิด
● จัดเตรียมรูปของผู้ป่วยที่ถ่ายไว้ล่าสุดเพื่อใช้ติดตามกรณีผู้ป่วยสูญหายควรให้ผู้ป่วยพกกระดาษ หรือสร้อยคอ/ข้อมือ ที่ช่วยบอกว่าผู้สูงวัยมีปัญหา ด้านความจำ ระบุหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อกลับและข้อมูลตามความเหมาะสม
ตรวจทานโดย นายแพทย์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม สาขาประสาทวิทยา